ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6 รูปแบบ เลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับแบรนด์คุณ

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6 รูปแบบ เลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับแบรนด์คุณ

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6 รูปแบบ เลือกอย่างไร ในสังคมยุคปัจจุบัน ผู้คนต่างพากันให้ความสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น ในส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หรือวิตามินบำรุงร่างกายต่างๆก็เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นตามด้วยเช่นกัน สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นของตัวเอง แต่ยังไม่รู้ว่ารูปแบบของผลิตภัณฑ์มีอะไรบ้าง แต่ละแบบจะมีจุดเด่นอย่างไร วันนี้ทางเราจะมาแนะนำให้ได้รู้จักกันแล้วดังนี้ค่ะ

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย สร้างแบรนด์ครีม ไม่อยากหลุดเทรนด์ ต้องรู้! เทรนด์ความงาม 2019

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม คืออะไร

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคือ กลุ่มสารอาหารที่รับประทานเข้าไปนอกเหนือจากการทานอาหารปกติ ถึงแม้รูปแบบผลิตภัณฑ์จะมีความคล้ายคลึงกับยา แต่อาหารเสริมทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่ได้มีหน้าที่เข้าไปรักษาหรือบำบัดโรคแต่อย่างใด จึงไม่ถูกจัดให้เป็นผลิตภัณฑ์ยา ดังนั้น ในขั้นตอนของการสร้างอาหารเสริมเป็นแบรนด์ของตนเอง ก็ต้องมีการพิจารณารูปแบบเพื่อส่งเสริมการทำงานด้านการดูดซึมสารอาหาร และเพื่อให้ร่างกายสามารถดึงเอาประโยชน์จากสารอาหารต่างๆ ไปใช้ให้ได้มากที่สุด

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

รูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

สำหรับการเลือกรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สามารถเลือกได้จากรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย AIDA คืออะไร? รู้ไว้สร้างยอดขาย “รวย 1,000 ล้าน” 

1.แบบตอกอัดเม็ดทั้งแบบเคลือบหรือไม่เคลือบ (กลม, รี, เหลี่ยม)

  • ลักษณะผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบบนี้คือ การนำเอาผงสารอาหารต่างๆ มาผสมรวมเข้ากับสารที่สามารถอัดเป็นเม็ดได้ โดยที่ผู้ผลิตสามารถกำหนดความเข้มข้นและปริมาณสารอาหารเสริมต่างๆ ได้ ข้อดีของรูปแบบนี้คือ สามารถออกฤทธิ์ได้เร็วและตรงตามเวลาที่กำหนด ส่วนข้อเสียคือ สัมผัสของเม็ดอาหารเสริม ทั้งกลิ่นและรสชาติไม่สามารถดัดแปลงได้ ยิ่งเป็นอาหารเสริมที่สกัดจากธรรมชาติ รสชาติที่ได้อาจทำให้ผู้บริโภครับประทานได้ยาก แต่ในส่วนนี้ก็สามารถหาทางแก้ไขได้ คือการเพิ่มสารให้ความหวานเคลือบตัวเม็ดอาหารเสริม เพื่อทำให้รับประทานง่าย ลื่นคอ แต่ข้อเสียของการเคลือบสารคือ สารที่เคลือบเข้าไปอาจทำให้ปริมาณสารอาหารเสริมที่ต้องการมีลดปริมาณลง

2.แบบแคปซูลแข็ง

  • แคปซูลรูปแบบนี้พบเห็นได้ทั่วไป โดยเนื้อแคปซูลส่วนมากจะผลิตมาจากเจลาตินของสัตว์ ข้อดีของอาหารเสริมรูปแบบนี้คือ สามารถกลบกลิ่นและรสชาติไม่พึงประสงค์ต่างๆ ได้ดี ทานง่ายลื่นคอ สามารถควบคุมกำหนดเวลาในการปล่อยสารอาหารเสริมออกมาในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้ แต่ก็มีข้อจำกัดเช่นกันคือ มีพื้นที่ในการบรรจุที่กำจัด หากอาหารเสริมตัวไหนที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับในปริมาณมากๆ อาจทำให้ต้องทานหลายเม็ด

3.แบบแคปซูลนิ่ม

  • หรือที่เรียกกันว่า ซอฟเจล แคปซูลประเภทนี้เหมาะสำหรับสารอาหารที่ไม่ไวต่อสิ่งกระตุ้น ไม่มีการเปลี่ยนโครงสร้างเมื่อสัมผัสกับอากาศ หรือแสงแดด ส่วนมากมักนิยมใช้กับน้ำมัน หรือกลุ่มสารอาหารที่ไม่สามารถทำเป็นผงได้

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเลือกให้เหมาะกับแบรนด์

4.แบบแคปซูลเซลลูโลส

  • แคปซูลแบบนี้ ลักษณะจะเหมือนกับแคปซูลแบบแข็ง แต่เนื้อแคปซูลผลิตมากจากเส้นใยของพืชผัก ข้อดีคือ เหมาะสำหรับคนที่เป็นมังสวิรัต ส่วนข้อเสียคือ ราคาต้นทุนที่จะสูงขึ้น เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ทำได้ยากกว่า และไม่สามารถเก็บไว้เป็นเวลานานได้ เพราะตัวแคปซูลที่ผลิตจากเส้นใยพืชจะมีความเปราะและแตกง่ายกว่าแคปซูลที่ผลิตจากเจลาตินสัตว์

5.แบบผง

  • กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเหล่านี้ มีลักษณะเป็นผงเวลารับประทานต้องนำไปผสมน้ำ ละลายให้หมดแล้วดื่ม ข้อดีคือ สามารถเพิ่มความเข้มข้น และปริมาณสารอาหารมากเท่าที่ต้องการได้ (แต่ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มเติมขึ้นมาต้องอยู่ในเกณฑ์ของ อย.) ส่งผลทำให้ในการรับประทานอาหารเสริมรูปแบบนี้แต่ละครั้งจะได้ปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย และไม่ต้องทานซ้ำหลายๆ ครั้ง ข้อดีอีกอย่างคือ สามารถปรับเปลี่ยนรสชาติของอาหารเสริมได้ ทำให้ผู้บริโภคทานได้ง่ายขึ้น ส่วนข้อเสียคือ ไม่สามารถใช้ได้กับกลุ่มอาหารเสริมที่ไม่สามารถละลายในน้ำได้ ส่วนกลุ่มที่สามารถละลายในไขมันสามารถแก้ไขได้ด้วยเทคนิคเอนแคปซูเลชั่น

6.แบบเหลว

  • เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่อยู่ในรูปแบบพร้อมดื่ม ข้อดีคือ สามารถพกพาได้ง่าย สะดวก อร่อย และได้ประโยชน์ครบตามที่ร่างกายต้องการ ในส่วนของข้อเสียคือ ราคาต่อหน่วยในการผลิตมีราคาค่อนข้างสูงมาก อายุการใช้งานและเก็บรักษาสั้นกว่ารูปแบบอื่นๆ  สารบางตัวอาจไวต่อแสงแดดในกระบวนการบรรจุภัณฑ์จึงต้องสูญเสียต้นทุนไปกับขวดกันแสงแดดเพิ่มเติมขึ้นมา

และนี่คือ 6 รูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีในปัจจุบันเท่านั้น ทางเราได้พิจารณาเลือกรูปแบบที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทยมานำเสนอ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละรูปแบบ ควบคู่ไปกับการพิจารณาความเหมาะสมของอาหารเสริมที่ต้องการ เพื่อที่คุณจะได้ตัดสินใจเลือกผลิตอาหารเสริมได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

Last Updated on by

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save