โรคซึมเศร้า ภัยเงียบทำลายสุขภาพกับ 7 วิธีรับมือโรคอย่างเข้าใจ

โรคซึมเศร้า เข้าใจได้ รับมือได้ ด้วย 7 วิธี

ปัจจุบันปัญหาความผิดปกติของสภาวะทางจิตเริ่มรุนแรงและหาทางแก้ไขได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะกับผู้ที่ป่วยเป็น โรคซึมเศร้า เนื่องด้วยสภาพสังคม ครอบครัวหรือคนรอบข้างที่มักเป็นปัจจัยกระตุ้นให้กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ พัฒนาขีดความรุนแรงของโรคมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ผู้ป่วยคิดฆ่าตัวตายกันได้เลยทีเดียว ซึ่งจริงๆ แล้ว หากเพียงเราทำความเข้าใจรู้เท่าทันโรคนี้ก็จะสามารถรับมือกับอาการหรือภาวะซึมเศร้าได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

โรคซึมเศร้าภัยเงียบทำลายสุขภาพกับ 7 วิธีรับมือโรคอย่างเข้าใจ

ในอดีตหากพูดถึงโรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดคงหนีไม่พ้น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิต แต่ในปัจจุบันด้วยสภาพสังคมและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป โรคที่เป็นภัยร้ายและคอยสร้างปัญหาสุขภาพจิตใจให้กับคนในประเทศไทยได้ได้มากเป็นอันดับต้นๆ กลับเป็น“โรคซึมเศร้า” โดย นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้กล่าวไว้ว่า “จากที่ธนาคารโลกและองค์การอนามัยโลกได้ทำการสำรวจ และรายงานโรคที่จะสร้างปัญหาให้กับประชาชนและประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563 พบว่า โรคจิตเวช โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าจะมีอัตราการป่วยของประชากรสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และคาดว่าจะมีประชากรร้อยละ 10 ของโลกที่มีปัญหาสุขภาพจิต” เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ ก็คือการทำความเข้าใจโรค เข้าใจผู้ป่วย และดูแลตัวเองหลีกเลี่ยงอาการซึมเศร้าที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมี7 วิธีปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้

โรคซึมเศร้า

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย อ้วน เพราะติดหวาน แต่อยากผอม ทำไงดี?

1.กินอาหารที่ทำให้อารมณ์ดี

  • แนะนำให้เลือกรับประทานกลุ่มอาหารที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเอนโดรฟิน (ฮอร์โมนแห่งความสุข) อย่างดาร์คช็อคโกแลต กลุ่มอาหารที่มีส่วนประกอบของกรดอะมิโนทริปโตเฟนสูง อย่างเช่น กล้วย ข้าวโพด หรือกลุ่มธัญพืชอย่างถั่วลิสงและเมล็ดทานตะวัน นี่เป็นอีกแนวทางง่ายๆ ที่จะช่วยปรับอารมณ์และความรู้สึกแย่ๆ ให้กลับมาสดใสได้

2.เลี่ยงอาหารที่ทำให้เครียด

  • นอกจากการกินอาหารที่ทำให้อารมณ์ดีแล้วก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดความเครียดด้วย เช่น เครื่องดื่มแอลกฮอล์ (การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยลดอาการซึมเศร้าได้เพราะมีฤทธิ์กดประสาท แต่หากดื่มปริมาณมากเป็นประจำ จะทำให้เกิดการเสพติดและอาการซึมเศร้าหนักขึ้น), คาเฟอีน และอาหารกลุ่มแป้งขัดสี เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นลงได้ง่าย ซึ่งจะมีผลทำให้อารมณ์แปรปรวนง่ายด้วยนั่นเอง เป็นต้น

3.ออกกำลังกายอยู่เสมอ

  • อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า การออกกำลังกายคือการเคลื่อนไหวร่างกายและเป็นการกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกินแล้ว หลังออกกำลังกายคุณจะรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น เนื่องจากร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอนโดรฟิน เพราะฉะนั้นเมื่อมีความรู้สึกเครียดหรือมีเรื่องเศร้า หาทางออกไม่ได้ แนะนำให้หาเวลามาออกกำลังกายในแบบที่ชอบ อาจจะวิ่ง ว่ายน้ำ เต้น หรือโยคะ ยิ่งหากได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอติดต่อกัน รับรองเลยว่าจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นแน่นอน

4.สัมผัสแสงแดดยามเช้า

  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะชอบเก็บตัวอยู่ในห้องคนเดียวมืดๆ ไม่ค่อยอยากออกไปทำกิจกรรมหรือสัมผัสแสงแดดภายนอก ลักษณะอาการแบบนี้จะยิ่งทำให้อาการซึมเศร้าหนักขึ้นกว่าเดิม เพราะแสงแดดจะเป็นตัวช่วยให้นาฬิกาชีวิตสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างสมดุล และส่งผลต่อเนื่องไปที่ระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้การหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ทำงานได้อย่างปกติ ดังนั้น ในแต่ละวันควรพาตัวเองออกมาสัมผัสแสงแดดอ่อนๆ ในยามเช้าบ้าง เพื่อกระตุ้นร่างกายและจิตใจให้สดใสพร้อมรับกับวันใหม่ๆ ได้ทุกวันนั่นเอง

5.ดนตรีบำบัด

  • ศาสตร์แห่งเสียงเพลงและดนตรีบำบัด ได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนานว่าสามารถช่วยรักษาโรคได้ โดยเฉพาะโรคทางด้านจิตใจ เพราะเสียงดนตรีมีผลต่อเซลล์และระบบสื่อประสาท ดังนั้น หากรู้สึกว่ากำลังเศร้า หรือมีเรื่องทุกข์ใจแนะนำให้เปิดเพลงจังหวะเบาๆ ฟังเพื่อบำบัดจิตใจและอารมณ์ ก็จะช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายมากขึ้น

โรคซึมเศร้า รับมือได้

6.หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เครียด

  • เมื่อคุณต้องพบเจอกับเรื่องที่ทำให้เครียดหรือเศร้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน ความรัก หรือครอบครัว หากหาทางออกให้กับความคิดนั้นไม่ได้ แนะนำให้พาตัวเองออกมาทำกิจกรรม หรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบ เช่น การดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ทำอาหาร อ่านหนังสือหรือออกกำลังกาย ฯลฯ เพื่อช่วยดึงความคิดของคุณออกมาจากเรื่องนั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้จิตใจแจ่มใสปลอดโปร่งมากขึ้น หรือหากหากิจกรรมอะไรไม่ได้จริงๆ แนะนำให้นอนหลับเพื่อเป็นการพักทั้งร่างกายและจิตใจ

7.เขียนระบายความในใจ

  • บางคนที่มีความเครียดมากๆ แล้วหาพื้นที่ระบายความรู้สึกไม่ได้ ยิ่งเก็บไว้กับตัวเองมากๆ ก็จะยิ่งเข้าสู่โหมดซึมเศร้าและเกิดความทุกข์ได้มากขึ้น ดังนั้น วิธีการง่ายๆ ที่อยากแนะนำคือ เขียนความในใจใส่กระดาษ โดยเขียนระบายความเครียดและความรู้สึกแย่ลงไป จากนั้นก็ฉีกกระดาษแผ่นนั้นออกเป็นชิ้นเล็กๆ รับรองว่าคุณจะรู้สึกสบายใจขึ้นได้อย่างแน่นอน

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย อยากผอม อยากหุ่นดี 6 วิธี ช่วยได้ โดยไม่ต้องออกกำลังกาย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับ 7 วิธีรับมือโรคซึมเศร้าง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ นอกจากตัวผู้ป่วยแล้ว คนรอบข้าง เพื่อน คนรักหรือคนในครอบครัวก็ควรให้ความเข้าใจผู้ป่วยด้วย เพื่อที่จะได้ช่วยประคับประคองความรู้สึกผู้ป่วย และยังช่วยกันหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นให้อาการของโรครุนแรงหนักขึ้น เพียงเท่านี้การใช้ชีวิตของคนที่เป็นโรคซึมเศร้าก็จะมาพร้อมความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้แล้ว

Last Updated on by

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save