ครีมกันแดด สร้างแบรนด์ ระหว่าง Chemical กับ Physical ตัวไหนดี

ครีมกันแดด สร้างแบรนด์ ระหว่าง Chemical กับ Physical ตัวไหนดี

การใช้ชีวิตภายใต้ฟ้าเมืองไทยทำให้ครีมกันแดดเป็นไอเทมที่ขาดไปไม่ได้เลยสำหรับสาว ๆ ที่ต้องการปกป้องผิวพรรณจากรังสี UV ของแสงแดดอันแผดจ้า ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เพียงทำให้ผิวคล้ำเสียเท่านั้น หากยังอาจก่ออันตรายอย่างโรคมะเร็งผิวหนังได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ แบรนด์ครีมกันแดดจึงมีโอกาสเติบโตอีกมากในแวดวงธุรกิจเครื่องสำอางไทย แต่ผู้ที่สนใจจะสร้างแบรนด์ครีมกันแดดรู้หรือไม่ว่า ครีมกันแดดที่ได้รับความนิยมนั้น มีทั้งแบบ Chemical และ Physical ครีมกันแดด เหล่านี้คืออะไร และแบบไหนดีกว่ากัน เรามีคำตอบมาฝากกันแล้ว ดังนี้

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย ผิวเนียนใส ด้วยส่วนผสม 5 ตัวเด็ด 

ครีมกันแดด

ครีมกันแดด แบบ Chemical

ครีมกันแดดแบบนี้จะทำปฏิกิริยากับแสงแดดโดยดูดซึมรังสี UV มาเก็บไว้ที่ตัวครีมเพื่อมิให้รังสีหลุดเข้าไปทำอันตรายต่อผิวหนังได้ โดยศักยภาพในการป้องกันรังสีนั้นจะแตกต่างออกไปตามส่วนผสมของสารกรองแสงแดด อาทิ สาร Benzophenone ดูดซับรังสี UBV และ UVA ได้บางส่วน, สาร Dibenzoylmethane มีคุณสมบัติดูดซับเฉพาะรังสี UVA ขณะที่สาร PABA และ Cinnamate สามารถดูดซับรังสี UVB เท่านั้น

จุดเด่นของครีมกันแดดแบบ Chemical ปรากฏให้เห็นเด่นชัดที่ความสามารถในการดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้สามารถปกป้องผิวพรรณจากแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น เนื้อครีมยังมีลักษณะไม่เข้มข้นมากจนเหนียวเนอะนะ ไม่แสดงให้เห็นความแตกต่างกับสีผิวมากนัก ตลอดจนสามารถดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดี เหมาะแก่การทาหลังอาบน้ำในตอนเช้าเพื่อเผชิญกับแสงแดดระหว่างวัน

อย่างไรก็ตาม ครีมกันแดดแบบนี้ก็มีข้อจำกัดอยู่บางประการ เช่น ผู้ใช้ควรทาก่อนเผชิญแสงแดดอย่างน้อย 20 นาทีขึ้นไป เพื่อให้ครีมสามารถซึมสู่ผิวหนังได้ดี และสามารถปกป้องผิวหนังจากแสงแดดได้อย่างเต็มขีดความสามารถ ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง อาจจะจำเป็นต้องทาครีมกันแดดซ้ำหลายครั้ง เพื่อเพิ่มการป้องกันกรณีที่ครีมอาจถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังเร็วเกินไป อย่างไรก็ตาม คนที่มีโรคภูมิแพ้หรือแพ้สารเคมีง่ายควรจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ครีมกันแดดประเภทนี้ เพราะมักจะมีค่า SPF ที่ค่อนข้างสูง อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง มีผื่นคันขึ้นได้เช่นกัน รวมถึงผู้ที่ปัญหาผิวหนัง หรือมีไขมันบนผิวมาก การทาครีมกันแดดประเภท chemical อาจก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนทำไปสู่ปัญหาสิวเสี้ยนได้เช่นกัน

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6 รูปแบบ

ครีมกันแดด แบรนด์ Chemical

ครีมกันแดดแบบ Physical

ครีมกันแดดประเภทนี้ทำงานด้วยการสะท้อนและป้องกันรังสี UV มิให้ทำอันตรายผิวหนังได้ โดยส่วนใหญ่สารกรองแสงแดดของครีมกันแดดแบบ Physical จะประกอบด้วยสารเพียง 2 ชนิด ได้แก่ Titanium dioxide (TiO2) และ Zinc oxide (ZnO) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้ครีมกันแดดมีความคงทนต่อแดดสูง เหมาะแก่การใช้ทาผิวหนังหากต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานหลายชั่วโมงติดต่อกัน เนื่องจากสารกรองแสงแดดจะไม่กักเก็บรังสี UV ไว้ แต่จะใช้วิธีการสะท้อนออกไปจึงทำให้ได้เปรียบด้านความคงทนมากกว่าครีมกันแดดแบบ Chemical

จุดเด่นของครีมกันแดดแบบ Physical มีอยู่มากมายหลายประการ อาทิ ครีมกันแดดแบบนี้มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง สามารถใช้งานได้กับผิวหนังทุกประเภท แม้ว่าจะมีอาการแพ้ง่ายหรือไม่ก็ตาม เนื่องจากครีมกันแดดประเภทนี้มี Zinc Oxide และ Titanium dioxide เป็นสารประกอบ ซึ่งสารชนิดเดียวกันนี้มักนิยมใช้กับผ้าอ้อมเด็กที่ต้องการสารเคมีที่ปลอดภัยเหมาะกับผิวบอบบางของทารก ฉะนั้นจึงเชื่อได้ว่าครีมกันแดดที่มีสารดังกล่าวจะสามารถใช้ได้กับผู้ที่มีอาการแพ้ทุกชนิด นอกจากนั้น ครีมประเภทนี้ผู้ใช้สามารถทาแล้วออกแดดได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องรอ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการสะท้อนรังสี UV ออกไปจากผิวหนัง จึงไม่จำเป็นต้องรอให้เนื้อครีมซึมเข้าสู่ผิวหนังก่อนอย่างครีมกันแดดประเภท Chemical

อย่างไรก็ตาม ครีมกันแดดแบบ Physical ก็มีข้อจำกัดอยู่เล็กน้อย ที่เห็นได้ชัดคือเนื้อครีมค่อนข้างหนา และไม่โปร่งแสงเหมือนครีมกันแดดแบบ Chemical ทำให้เวลาทาลงบนผิวแล้วจะเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างกับสีผิว เนื่องจากเนื้อครีมมีสีขาวจึงทำให้เมื่อทาลงบนผิวของคนเอเชียแล้วจะเห็นเป็นรอยครีมหรือบางรายที่ทาเยอะเกินไปก็อาจจะดูขาววอกมากเกินไปได้เช่นกัน

ครีมกันแดด แบรนด์ Physical

ครีมกันแดดสร้างแบรนด์ ระหว่าง Chemical กับ Physical เลือกตัวไหนดี?

อ่านมาถึงจุดนี้ หลายคนอาจจะยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะสร้างแบรนด์ครีมกันแดดประเภทใดดี ระหว่าง Chemical กับ Physical ซึ่งทั้งสองแบบต่างก็ได้รับความนิยมไม่ต่างกันมากนัก แต่ก็มีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ครีมกันแดดแบบ Physical อาจจะเหมาะแก่การใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะวันทำงานที่ผู้ใช้ต้องการครีมกันแดดที่สามารถป้องกันรังสี UV ได้เพียงในระดับหนึ่ง โดยใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในร่ม และต้องการเนื้อครีมที่กลมกลืนไปกับสีผิว ไม่เห็นเด่นชัดมากเกินไป ขณะที่ครีมกันแดดแบบ Physical จะเหมาะกับการทำกิจกรรมกลางแจ้งอย่างการเล่นกีฬามากกว่า เนื่องจากสามารถออกแดดได้ทันทีหลังทา และสามารถป้องกันแสงแดดได้เป็นเวลานาน เนื่องจากมีคุณสมบัติในการสะท้อนรังสี UV ไม่จำเป็นต้องทาซ้ำบ่อย ๆ จึงเหมาะแก่การใช้งานกลางแจ้งอย่างการไปเที่ยวทะเล อาบแดด หรือเล่นกีฬากลางแจ้ง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีครีมกันแดดหลายแบรนด์ที่ผสมผสานข้อดีของครีมกันแดดทั้งแบบ Chemical และ Physical เข้าด้วยกัน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นครีมกันแดดแบบ Chemical-Physical ซึ่งคุณก็อาจเลือกผลิตแบรนด์ครีมกันแดดแบบดังกล่าวได้เช่นกัน โดยสอบถามและแจ้งความประสงค์ไปที่โรงงานรับผลิตครีมที่มีประสบการณ์ในการทำสูตรครีมกันแดดแบบดังกล่าว ก็น่าจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มในประเทศไทยได้ดีทีเดียว

Last Updated on by

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save