ทำแบรนด์ครีม อ่านด่วน! ติดหูแน่แค่ใช้ 6 ทริค ก่อนคิดชื่อแบรนด์

ทำแบรนด์ครีม อ่านด่วน! ติดหูแน่แค่ใช้ 6 ทริคก่อนคิดชื่อแบรนด์

6 ทริคก่อนคิดชื่อแบรนด์ หากคุณกำลังคิดจะสร้างแบรนด์ครีมเป็นของตัวเอง หยุดอ่านบทความนี้ก่อนสัก 2 นาทีแล้วคุณจะประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ครีมให้เป็นที่รู้จัก เวลาคุณนึกถึงแบรนด์ ๆ หนึ่ง สิ่งแรกที่ปรากฎขึ้นมาในหัวคืออะไร ใช่แล้ว ชื่อแบรนด์นั่นเอง นี่คือสาเหตุที่ทำไมการตั้งชื่อแบรนด์จึงเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างแบรนด์ครีมให้เป็นที่รู้จัก เพราะชื่อแบรนด์ที่ติดหูหรือมีความแปลกใหม่ย่อมเรียกหาความสนใจจากลูกค้าได้ตั้งแต่แรกยินนั่นเอง แต่หากคุณยังไม่แน่ใจว่าควรตั้งชื่อแบรนด์อย่างไร บทความนี้เราได้เตรียม 6 ทริคในการตั้งชื่อแบรนด์ให้ติดหู ใครได้ยินก็รู้ว่าเป็นสินค้าเกี่ยวกับอะไร และสามารถช่วยเพิ่มยอดขายได้ดีอีกด้วย พร้อมแล้วมาดูกันเลย

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านได้เลย สร้างแบรนด์ครีม 10 ขั้นตอนง่ายๆ เพิ่มรายได้แบบพุ่งกระฉูด

ทริค ก่อนคิดชื่อแบรนด์

1.ชื่อแบรนด์ที่ดีไม่ควรยาวเกินไป 6 ตัวอักษร 3 พยางค์กำลังดี

ในแวดวงการตลาดเป็นที่รู้กันว่าชื่อแบรนด์ที่ดีนั้นจะต้องมีความยาวไม่เกิน 6 ตัวอักษร 3 พยางค์ ทั้งนี้ เพื่อให้มีความสั้นกระชับ ลูกค้าจดจำได้ง่าย ติดหูติดปากคนทั่วไป และที่สำคัญคือสามารถสะท้อนตัวตนเกี่ยวกับ
แบรนด์ของคุณออกมาได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้น ชื่อแบรนด์ที่ดีควรมีความสอดคล้องกันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ออกเสียงไม่ยาก โดยเฉพาะหากแบรนด์ของคุณมีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวต่างชาติก็ไม่ควรใช้ศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะทางภาษาหรืออ่านยากจนเกินไปกระนั้น ชื่อแบรนด์ที่ดีก็อาจมีความยาวได้มากกว่า 3 พยางค์หากเป็นคำที่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าและมั่นใจว่าจะติดหูผู้ฟัง โดยอาจใช้ชื่อที่มีอยู่แต่เดิมแล้วอย่าง Amazonแต่แต่งเติมความหมายใหม่เข้าไป จากป่าอเมซอนเป็นป่าแห่งสินค้านานาชนิด เป็นต้น

2.Less is More ง่ายแต่ติดหู

แบรนด์ดังระดับโลกส่วนใหญ่มักจะมีวิธีการตั้งชื่อแบรนด์ที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน บางส่วนก็นำชื่อผู้ก่อตั้งมาใช้เป็นชื่อแบรนด์ อาทิ Coco Chanel, Yves Rocher หรือ Ferrari หรืออีกวิธีหนึ่งคือการใช้ชื่อที่มีอยู่แต่เดิมแล้วมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์ อาทิ ใช้ชื่อจากนิทานอย่าง Alibaba ของแจ็ค หม่า หรือ Pegasus ซึ่งเป็นชื่อรุ่นของรองเท้า Nike เป็นต้น นอกจากนั้น การใช้อักษรย่อก็เป็นหนึ่งในทริคที่หลายแบรนด์ใช้ตั้งชื่อแล้วติดหูคนทั่วโลกอย่าง BBC, KFC หรือ LG เป็นต้น แม้การตั้งชื่อแบรนด์จะไม่มีสูตรตายตัว แต่หลักที่ใช้ได้เสมอคือความเรียบง่าย สั้น แต่ติดหู

ทริคก่อนคิดชื่อแบรนด์ ให้ติดหู

3.ฉีกแนวแต่ชัดเจน

หากต้องการสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ของตนเอง ก็ควรจะเริ่มต้นจากการตั้งชื่อที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งชื่อดังกล่าวอาจจะไม่จำเป็นต้องเกิดจากคำนามที่มีความหมายในตัวเองก็ได้ เพราะคุณจะเป็นผู้ให้ความหมายของคำ ๆ นั้นด้วยการเป็นเครื่องหมายการค้าของสินค้าของคุณ อย่างไรก็ตาม ชื่อที่คุณประดิษฐ์ขึ้นนั้นควรมีความสั้น กระชับ และออกเสียงง่าย อาทิ Facebook, Google หรือ VISA นอกจากนั้น ชื่อแบรนด์ที่เป็นภาษาไทยยังควรที่จะแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสะกดที่ไม่ยากเกินไปอีกด้วย เช่น หากเราตั้งชื่อว่าแบรนด์ของเราว่า ‘เทวี’ คำ ๆ นี้มีวิธีการสะกดภาษาอังกฤษเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Tevi, Dhevi, Devi หรือ Tewiหากเป็นเช่นนั้นย่อมทำให้การทำการตลาดยากขึ้นไปด้วย โดยเฉพาะการทำการตลาดออนไลน์หรือ SEO ทำให้มีคีย์เวิร์ดเพิ่มมากขึ้นโดยไม่จำเป็น เพราะฉะนั้น ชื่อแบรนด์แปลกฉีกแนวได้ แต่ต้องมีความชัดเจน สั้น กระชับ

4.ศึกษาแนวทางการตั้งชื่อของแบรนด์ดัง

หากคุณไม่รู้ว่าจะตั้งชื่อแบรนด์อย่างไรดี การดูแนวทางการตั้งชื่อของแบรนด์ชื่อดังก็เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการหาชื่อแบรนด์ที่เหมาะสมกับสินค้าของตนเอง โดยปกติแล้ว แบรนด์ชื่อดังเหล่านั้นจะมีแนวทางการตั้งชื่อไม่มากนัก และส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญการชื่อแบรนด์มากเท่ากับการสร้างสินค้าคุณภาพเพื่อสร้างชื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ก็สามารถสรุปแนวทางการตั้งชื่อไว้ได้ 4 แนวทาง ดังนี้

– ชื่อแบรนด์เกี่ยวข้องกับสินค้า อาทิ Mastercard (บัตรเครดิต)Ebay (ตลาดออนไลน์)

– ชื่อแบรนด์เกี่ยวกับผู้ก่อตั้ง อาทิ Ford, Toyota, Disney, ร้านเจ๊เล้ง

– ชื่อแบรนด์มาจากตัวย่อ อาทิ P&G, H&M, IBM, HP, HBO

– ชื่อแบรนด์สร้างขึ้นจากคำที่มีความหมายใหม่ อาทิ Google, Ikea, Nike, Yahoo, Netflix

– ชื่อแบรนด์ใช้คำนามที่มีอยู่แล้ว แต่ให้นิยามความหมายใหม่ อาทิ Apple, Shell, Amazon, Subway

ทำแบรนด์ครีม-ทริคคิดชื่อแบรนด์

5.ตั้งชื่อแบบกลาง ๆ สำหรับต่อยอดในอนาคต

ข้อแนะนำอีกประการหนึ่งในการตั้งชื่อแบรนด์ คือ การเผื่อช่องว่างไว้สำหรับการขยับขยายหรือแตกไลน์สินค้าในอนาคต แม้ว่าการตั้งชื่อแบรนด์ให้มีความเฉพาะเจาะจง จะทำให้ลูกค้าทราบในทันทีว่าขายสินค้าอะไร แต่ก็อาจทำให้ลูกค้าติดภาพลักษณ์แบรนด์ว่าขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ว่าในอนาคตคุณอาจจะอยากเปลี่ยนไปขายสินค้าชนิดอื่นหรือเพิ่มสินค้าที่ไม่เกี่ยวกับแบรนด์เดิมมาขาย เพราะฉะนั้น การตั้งชื่อแบบกลาง ๆ ก็จะช่วยให้คุณสามารถต่อยอดความสำเร็จของแบรนด์ได้ง่ายขึ้น อาทิ Google ก็สามารถแตกไลน์เพิ่มเป็น Google Map, Google Drive, Google Play เป็นต้น

6.ห้ามใช้ศัพท์เกี่ยวกับประเด็นละเอียดอ่อน

สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมาก ทั้งในการสร้างแบรนด์หรือการทำการตลาด คือ ไม่ควรนำประเด็นละเอียดอ่อนอย่างการเมือง ศาสนา และความเชื่อมาเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติส่วนบุคคล และอาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะฉะนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่มีนัยยะทางศาสนา การเมือง ชาติพันธุ์ และประเด็นล่อแหลมมาตั้งชื่อแบรนด์ รวมทั้งไม่ควรนำมาทำการตลาดเพื่อโฆษณาสินค้าไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งปวง

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านได้เลย สร้างฝันการเป็นเจ้าของ แบรนด์ครีมตัวเอง ให้เป็นจริง 

การสร้างแบรนด์ครีมให้ประสบความสำเร็จนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการตั้งชื่อแบรนด์ให้ติดหูกลุ่มเป้าหมาย ชื่อแบรนด์ที่มีความสั้น กระชับ และมีความเป็นเอกลักษณ์จะสามารถสร้างความสนใจให้กับลูกค้าได้ตั้งแต่ยังไม่เห็นว่าสินค้าคืออะไร จึงกล่าวได้ว่าตั้งชื่อแบรนด์ได้ดีทำให้มีชัยไปกว่าครึ่งนั่นเอง

Last Updated on by

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save